ทำไมคนเลือกใช้ผ้า TK ผ้าTK เป็นแบบไหน
Author : Panthip MongkonpetchsiriTextile Specialist
วันนี้เรามาทำความรู้จักกับผ้า
TK กันค่ะ ผ้า TK เป็นผ้าเส้นใยสั้นที่ทำมาจาก
100% polyester ซึ่งก็คือเส้นใยสังเคราะห์นั่นเองค่ะ มักจะมี
คำถามว่า ผ้าTK เป็นแบบไหน ก็ต้องขออธิบายว่าเป็นได้หลากหลายแบบมาก
ๆ เลยค่ะ ขึ้นอยู่กับโครงสร้างของผ้าที่เรานำมาถักทอ สามารถทำออกมาได้หลายเนื้อ
ไม่ว่าจะเป็น ผ้า TKซิงเกิ้ล, ผ้า TKจูติ, ผ้า TK อินเตอร์ล็อค และอื่น ๆ อีกมากมาย โดยเบอร์ของ เส้นด้าย TK นั้นจะใช้วิธีการแบบอังกฤษ ( Number English,
Ne) หรือแบบ cotton count ยิ่งเบอร์ด้าย ตัวเลขน้อยลง
ขนาดของเส้นด้ายยิ่งโตขึ้น เช่น TK20 จะมีขนาดเส้นด้ายโตกว่า TK34
นั่นเอง
ขนาดของเส้นด้าย มีผลกับความหนาของผ้า เมื่อใช้เส้นด้าย TK แต่ละเบอร์ ไม่ว่าจะเป็น TK20 TK34 TK45 หรือเบอร์อื่นๆ มาถักทอเป็นผ้าโครงสร้างต่างๆ ก็จะมีผลกับความหนาและลักษณะของเนื้อผ้าที่ออกมาด้วยค่ะ เส้นด้ายที่เบอร์เล็กกว่าก็จะทำให้เนื้อผ้าบางกว่า
ผ้า TK เป็นผ้าที่เกิดจากเส้นใยสั้น โพลีเอสเตอร์
หรือเราเรียกว่าเส้นใย สปัน
เพื่อให้เนื้อผ้าที่ได้มีลักษณะเนื้อสัมผัสนุ่มฟูใกล้เคียงกับ cotton แต่ cotton เป็นผ้ามีราคาสูง
จึงทำให้เกิดการผลิตเส้นใย TK เพื่อทดแทน
เพราะสามารถทำให้เนื้อสัมผัสที่ได้ใกล้เคียงกันมาก
โดยการใช้เส้นใยสังเคราะห์โพลีเอสเตอร์ ซึ่งกระบวนการผลิตของผ้า TK สามารถควบคุมต้นทุนการผลิตและกระบวนการผลิตที่สั้นกว่า ทำให้ผ้าที่ได้ มีราคาถูกกว่าเมื่อเทียบกับ
Cotton TC หรือ CVC ค่ะ
ผ้า TK มักจะถูกนำมาทำเป็นโครงสร้างต่าง ๆ เช่น
ผ้า TK จูติ หรือจูติ TK แล้วแต่จะเรียกสลับกันได้ค่ะ คือ ผ้าที่ทำจากเส้นด้าย TK นำมาถักทอด้วยโครงสร้างจูติ หรือที่เรียกว่าโครงสร้างปิเก้ (pique) ลักษณะเนื้อผ้า ด้านหน้าผ้าจะมีรูคล้ายรังผึ้ง ซึ่งจะช่วยในการระบายอากาศ ส่วนด้านหลังผ้าจะมีลักษณะเนื้อเรียบแต่ก็ไม่เรียบซะทีเดียวนะคะ เป็นลายคล้ายเปียแนวตั้งตามหน้าผ้า เป็นโครงสร้างที่นิยมนำมาทำเสื้อโปโล ยูนิฟอร์ม เพราะโครงสร้างนี้ ผ้าค่อนข้างมีเนื้อหนา อยู่ทรง ไม่ยับง่าย

ผ้า TK ซิงเกิ้ล เป็นผ้า TK ที่ทอด้วยโครงสร้าง Single Jersey ที่เราเรียกกันทั่วไปว่าผ้า TK เรียบ และผ้าตัวนี้มักถูกเรียกเป็นเบอร์ด้ายต่าง ๆ ด้วย เพราะมีการนำเส้นด้ายขนาดต่าง ๆ มาทำ ด้วยโครงสร้างนี้ แล้วผ้าที่ได้ออกมามีลักษณะที่แตกต่างกันค่อนข้างชัดเจน เช่น มักจะเรียกว่า ผ้า TK20 , ผ้า TK34 ผ้าโครงสร้างนี้นิยมนำไปตัดเย็บเป็นเสื้อยืด เนื่องจากโครงสร้างผ้าหน้าเดียว มีลักษณะผ้าเรียบทั้งสองด้าน เนื้อบางเบา สามารถนำไปพิมพ์สกรีนต่าง ๆ และรองรับงานพิมพ์แบบซับลิเมชั่น (พิมพ์ทรานส์เฟอร์) ได้ด้วย
ผ้า TK อินเตอร์ล็อค (ผ้า TK interlock) หรือ ผ้า TK 2 หน้า เป็นผ้า TK ที่นำมาถักทอด้วยโครงสร้างอินเตอร์ล็อค ลักษณะผ้าจะมีความเรียบทั้งสองฝั่ง จะเป็นลักษณะเปียแนวตั้งตามหน้าผ้า ทั้งสองด้าน ทำให้ผ้าTK อินเตอร์ล็อคนี้ใช้งานได้ทั้งสองฝั่ง แต่จริงๆ ถ้าเรามองดีๆจะมีด้านนึงที่เปียสวยกว่า ด้านนั้นจะเป็นด้านหน้าผ้าค่ะ เนื้อผ้า TK อินเตอร์ล็อค มีเนื้อผ้าที่หนากว่า TK ซิงเกิ้ล เพราะเป็นโครงสร้างแบบ Double knits หรือเรียกว่า การถักสองหน้า เหมาะสำหรับเสื้อผ้าที่ต้องการความหนา นุ่ม ฟู กว่าปกติ ผ้าไม่บางทะลุ เช่น เดรส เสื้อโอเวอร์ไซส์ เสื้อยืดคอกลม

ผ้า TK ไมโคร (ผ้า TK
micro) เป็นผ้าที่ผสมเส้นด้าย
TK และไมโครร่วมกัน เพื่อเป็นการลดข้อเสียของผ้าTK ในเรื่องของการเกิด Pilling หรือการขึ้นขน
ขึ้นเม็ดบนผิวผ้า เมื่อใช้งานไประยะหนึ่ง ทำให้เนื้อผ้าที่เกิดจากเส้นใย 2 ชนิดนี้ยังมีความนุ่มฟู และนุ่มลื่นรวมกันอยู่ ผ้า TK ไมโคร
สามารถนำไปถักทอโครงสร้างต่างๆได้เหมือน TK ล้วนๆ เลยค่ะ
แล้วแต่ผู้ผลิต ไม่ว่าจะเป็น ผ้าจูติ ผ้าซิงเกิ้ล ผ้าอินเตอร์ล็อค และอื่นๆ
ผ้าทุกชนิดต่างมีข้อดีข้อเสียที่ต่างกัน
เมื่อเทียบกับผ้าในหมวดหมู่เดียวกันแล้ว มีข้อดีข้อเสียต่างกันดังนี้
ตารางเปรียบเทียบข้อดีข้อเสียของผ้า TK, Cotton และ TC
คุณสมบัติ |
ผ้า TK |
ผ้า Cotton |
ผ้า TC |
---|---|---|---|
การส่วมใส่สบายระบายอากาศดี | ระบายอากาศได้น้อยใส่แล้วค่อนข้างร้อน | ใส่สบาย เย็นผิว | ใส่สบายปานกลาง |
การหดตัวของเสื้อ | ไม่หด | %หดตัวสูงเมื่อซักครั้งแรก | ไม่หด |
การย้วยของเสื้อ | ไม่ย้วย | ย้วยง่ายมาก | ไม่ย้วย |
การขึ้นขนบนเสื้อผ้า | ขึ้นขน | ไม่ขึ้นขน | ขึ้นขนแต่เกิดช้ากว่าTK |
ความยับของเสื้อผ้า | ไม่ยับ | ยับง่ายมาก | ยับน้อย |
งานพิมพ์ Sublimation | พิมพ์ได้ติดสี คมชัด | พิมพ์ไม่ได้ | พิมพ์ได้ ติดสีไม่เข้ม100% |
แต่ถ้าหากต้องการหาผ้าทีเค ผ้าโพลีเอสเตอร์ ตัวช่วยทดแทนผ้าจากเส้นใยธรมชาติ เรามีผ้าเส้นใยสังเคราะห์ **ผ้าสำหรับตัดเย็บ บริการจัดส่งแคตตาล็อกฟรี**
