ผลิตภัณฑ์จากขวดพลาสติก recycle
เกาะกระแสเสื้อบอลโลก (รักษาสิ่งแวดล้อม ช่วยโลกยั่งยืน ด้วยผ้ารีไซเคิลจากขวดพลาสติก (Sustainability)
Author : Panthip Mongkonpetchsiri
Textile Specialist
ปัจจุบันผ้ารีไซเคิลเป็นอีกผ้าหนึ่งที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก หลายบริษัทชั้นนำให้ความสำคัญกับการรักษาสิ่งแวดล้อม ความยั่งยืนของโลกอนาคต (Sustainability) ผ้ารีไซเคิลจึงตอบโจทย์ความต้องการได้เป็นอย่างดี
ผ้ารีไซเคิลที่ได้รับความสนใจมากในปัจจุบันหนีไม่พ้น ผ้ารีไซเคิลจากขวดพลาสติก ซึ่งเป็นขยะที่เกิดจากน้ำมือมนุษย์ในทุกวัน ซึ่งหลักๆจะเป็นขวดน้ำดื่ม PET (polyethylene terephthalate) พลาสติกประเภทนี้เป็นประเภทเดียวกับผ้าโพลีเอสเตอร์ที่ใช้สวมใส่ทั่วไป เป็นพลาสติกประเภทที่สามารถนำมารีไซเคิลได้
บทความต่อไปนี้จะขอพูดถึงผ้ารีไซเคิลจากขวดพลาสติก ซึ่งเป็นประเภทเดียวกับผ้าโพลีเอสเตอร์ หลายคนมีคำถามว่า ผ้ารีไซเคิลเป็นอะไรได้บ้าง? คำตอบคือ เป็นได้ทุกอย่างที่เราต้องการเลยค่ะ เช่น เสื้อกีฬาสำหรับออกกำลังกาย เสื้อฟุตบอลโลกเดี๋ยวนี้แบรนด์ใหญ่ๆเค้าก็ใช้ผ้ารีไซเคิลกันทั้งนั้นเลยค่ะ เสื้อยูนิฟอร์มและอื่นๆอีกมากมาย เป็นต้น
เหตุผลเพราะ...ตามหลักแล้วเคยอธิบายถึงเส้นใยโพลีเอสเตอร์ว่า เป็นพลาสติกประเภท เทอร์โมพลาสติก Thermo Plastic ด้วยคุณสมบัตินี้ เราจึงสามารถใช้ความร้อนในการหลอมขวดพลาสติก ให้ฉีดออกมาเป็นเส้นใยขนาดต่างๆได้ ดังนั้นแล้ว ผ้ารีไซเคิลจึงสามารถทำออกมาได้หลากหลายทุกโครงสร้างผ้าเท่าที่มีบนโลกใบนี้ คุณสมบัติและเนื้อผ้าที่ได้ แทบไม่น่าเชื่อว่าทำมาจากขวดพลาสติกเลยค่ะ
โรงงานผ้ารีไซเคิลในประเทศไทย ปัจจุบันเริ่มมีหลายบริษัทที่มีผ้าประเภทนี้ให้บริการ แต่โรงงานผ้ารีไซเคิลที่เข้าถึงง่าย และมีสต็อคพร้อมให้ลอง ต้องที่ ตลาดผ้าจงสถิตย์ เท่านั้น โดยมีขั้นต่ำในการสั่งซื้อเพียง 1 พับเท่านั้น พร้อมใบ Certificate จาก GRS (Global Recycled Standard) ใบรับรองผลิตภัณฑ์รีไซเคิลมาตรฐานระดับสากล
สั่งผ่านเว็บไซต์ได้ง่ายๆแค่คลิก www.taladpha.com
ผ้ารีไซเคิล ราคา มักจะสูงกว่าผ้าโพลีเอสเตอร์ทั่วไป เนื่องจากต้องมีกระบวนการคัดแยก ทำความสะอาด แปรรูป ขวดพลาสติกให้อยู่ในรูป polyester chip ซึ่งจะเข้าสู่กระบวนการแปรรูปเป็นเส้นใยเบอร์ต่าง ๆ ต่อไป
ในส่วนของตลาดผ้าจงสถิตย์ จะมี ผ้ารีไซเคิลหลัก ๆ 3 เนื้อผ้า
1. ผ้าจูติไมโครรีไซเคิล (Micro pique recycle) QP288G โครงสร้างผ้าจูติ หรืออีกชื่อที่เรียกว่าปิเก้ (pique) เป็นโครงสร้างที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายและยาวนานในท้องตลาด โครงสร้างผ้าประเภทนี้ ทอให้เนื้อผ้ามีรูระบายอากาศได้ดี เป็นทรงหกเหลี่ยมคล้ายรังผึ้ง ในขณะที่หลังผ้าจะมีลักษณะเรียบ เพื่อที่เวลาสวมใส่จะไม่รู้สึกระคายเคือง ทั้งยังมีความหนาที่พอดี เมื่อนำไปตัดเย็บเป็นเสื้อแล้ว ทำให้เสื้ออยู่ทรง ไม่แนบเนื้อ นอกจากนี้ตัวเส้นใยที่ทำจากไมโครโพลีเอสเตอร์ยังเพิ่มคุณสมบัติในการระบายอากาศได้ดีอีกด้วย
2. ผ้าไมโครเรียบหนารีไซเคิล (Micro Interlock recycle) I396G เอาใจคนรักเนื้อผ้าแนวกีฬา เสน่ห์ของผ้าไมโครเรียบตัวนี้คือ ทอด้วยเครื่องที่มีความละเอียดสูง ทำให้เนื้อผ้าที่ได้แตกต่างจากไมโครเรียบทั่วไปในท้องตลาด เนื่องจากการทอผ้าด้วยเครื่องที่มีความละเอียดก็จะส่งผลให้เนื้อผ้าที่ได้มีความหนานุ่ม และยืดหยุ่น สปริงตัวได้ดีมากขึ้นตามโครงสร้างของเนื้อผ้าโดยที่ไม่ต้องมีส่วนผสมของสแปนเด็กซ์ ผ้าไมโครเรียบหนารุ่นนี้ สามารถรองรับงานพิมพ์ซับลิเมชั่นได้ และยังคงติดสีคมชัด 100% ดังเช่นผ้าโพลีเอสเตอร์ทั่วไป เนื้อผ้าชนิดนี้นอกจากทำสื้อแนวกีฬาแล้ว ลูกค้าบางรายยังนำไปทำเสื้อโปโลได้อีกด้วย เพิ่มความทันสมัยและยังรักษ์โลกได้อีกด้วย
3. ผ้าทริคอตรีไซเคิล ( Tricot Fancy Recycle ) GF5001 ผ้าทริคอตเป็นผ้าเนื้อใหม่ในท้องตลาด ยังไม่ค่อยมีขายทั่วไปเนื่องจากโรงงานผลิตมีน้อย แต่ผ้าโครงสร้างนี้มีความพิเศษเป็นอย่างมาก เพราะเป็นโครงสร้างที่เกิดจากการถักแบบ Warp knits เป็นโครงสร้างการถักที่โครงสร้างซับซ้อน ทำให้เนื้อผ้าที่ได้ มีน้ำหนักเบา โดยผ้าไม่โปร่งเกินไป และมีความแข็งแรงดีมาก ผ้าไม่รันเมื่อเกิดการเกี่ยว คงทนและอยู่ทรงได้ดีมาก และยังรองรับงานพิมพ์ซับลิเมชั่นได้เช่นกัน โครงสร้างผ้าแปลกใหม่และน่าสนใจ และเนื่องจากน้ำหนักผ้าที่เบาลง ทำให้ตัดจำนวนได้มากขึ้น ช่วยให้ผู้ผลิตลดต้นทุนลงได้อีกด้วย
เนื้อผ้าชนิดนี้นิยมนำไปตัดเสื้อโปโล เสื้อยูนิฟอร์ม เป็นต้น
